Moore Model ของ แผนภาพสถานะ

การเขียน State Diagram ของ Moore จะใช้ตัวอักษรและตัวเลขเขียนอยู่ในวงกลม โดยที่ตัวอักษรแสดงถึง State ตัวเลขแสดงถึง Output เช่น W/0 หมายความว่า ที่ State W ที่เวลาใดๆ ถ้าได้รับ Input แล้ววงจรจะเชื่อมด้วยเส้นตรงหรือเส้นโค้งมีหัวลูกศรกำกับและแต่ละเส้นที่เชื่อมกันก็ยังมีตัวเลขอีกชุด แสดงถึงการป้อน Input กำกับไว้ด้วย

Moore Model ใช้ในกรณีที่ Output ของวงจรไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Input แต่จะขึ้นอยู่กับ Present State เท่านั้น ดังนั้น State table และ State Diagram ตามแบบของ Moore จะแตกต่างกับแบบของ Mealy

จากรูปคือ

ถ้าให้ State W เป็น Present State และวงจรได้รับ Input X=0 แล้ว Next State ของวงจรเป็น State Y และให้ Output Z=0 แต่ถ้าวงจรได้รับ Input X=1แล้ว Next State ของวงจรเป็น State X และให้ Output Z=0

ถ้าให้ State X เป็น Present State และวงจรได้รับ Input X=0 แล้ว Next State ของวงจรจะคงอยู่ที่ State X และให้ Output Z=1 แต่ถ้าวงจรได้รับ Input X=1แล้ว Next State ของวงจรเป็น State Yและให้ Output Z=1

ถ้าให้ State Y เป็น Present State และวงจรได้รับ Input X=0 แล้ว Next State ของวงจรเป็น State X และให้ Output Z=0 แต่ถ้าวงจรได้รับ Input X=1แล้ว Next State ของวงจรเป็น State W และให้ Output Z=0

ข้อดี

Output ไม่เปลี่ยนตาม Inputทำให้ไม่เกิดปัญหา momntary change หรือ Glitch

ข้อเสียใช้จำนวนสภาวะมากกว่าในการออกแบบวงจรชนิดเดียวกัน

ใกล้เคียง

แผนภาพของแฮร์ตสปรอง–รัสเซิล แผนภาพเวนน์ แผนภาพสถานะ แผนภาพ แผนภาพโวโรนอย แผนภาพวิวัฒนาการแบบแคลดิสติกส์ของสายพันธุ์มนุษย์ แผนภาพกระแสข้อมูล แผนภาพอ็อยเลอร์ แผนภาพความคิด แผนภาพเส้นเวลาจากบิกแบงถึงฮีทเดธ